วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2550

นิลวรรณ กาเผือก
















เพื่อน เอกคอมพิวเตอร์ศึกษา ปี 3 ค่ะ

หน่วยที่ 1
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน.......

นักวิชาการในวงการเทคโนโลยีทางการศึกษา โสตทัศนศึกษา และวงการการศึกษา ได้ให้คำจำกัดความของ “สื่อการสอน” ไว้อย่างหลากหลาย เช่น ชอร์ส กล่าวว่า เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน เช่น หนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพ แผนที่ ของจริง และทรัพยากรจากแหล่งชุมชน บราวน์ และคณะ กล่าวว่า จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดี ทั้งนี้รวมถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่ การแสดง บทบาทนาฏการ การสาธิต การทดลอง ตลอดจนการสัมภาษณ์และการสำรวจ เป็นต้น เปรื่อง กุมุท กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้ได้เป็นอย่างดี ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ให้ความหมาย สื่อการสอนว่า วัสดุอุปกรณ์และวิธีการประกอบการสอนเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายที่ผู้สอนประสงค์จะส่ง หรือถ่ายทอดไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ ยังมีคำอื่น ๆ ที่มีความหมายใกล้เคียงกับสื่อการสอน เป็นต้นว่า สื่อการเรียน หมายถึง เครื่องมือ ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ ที่จะมาสนับสนุนการเรียนการสอน เร้าความสนใจผู้เรียนรู้ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจดีขึ้น อย่างรวดเร็ว สื่อการศึกษา คือ ระบบการนำวัสดุ และวิธีการมาเป็นตัวกลางในการให้การศึกษาความรู้แก่ผู้เรียนโดยทั่วไปโสตทัศนูปกรณ์ หมายถึง วัสดุทั้งหลายที่นำมาใช้ในห้องเรียน หรือนำมาประกอบการสอนใด ๆ ก็ตาม เพื่อช่วยให้การเขียน การพูด การอภิปรายนั้นเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น















ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. ประเภทติวเตอร์
รูปแบบหนึ่งของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้รับการออกแบบโดยเป้าหมายที่จะนำเสนอเนื้อหาและถ่ายทอดความรู้เสมือนกับติวเตอร์คนหนึ่ง โดยมีการใช้สื่อต่าง ๆ เพื่อช่วยในการนำเสนอเนื้อหาไม่ว่าจะเป็นข้อความ เสียง ภาพนิ่งกราฟิก ภาพสไลด์ ภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนปฏิบัติและโต้ตอบบทเรียน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ โดยอาจเป็นเนื้อหาใหม่หรือทบทวนเนื้อหาเดิมก็ได้

2. ประเภทแบบฝึกหัด
การนำเสนอข้อคำถามโดยใช้วิธีการรูปแบบต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนและปฏิบัติจนสามารถเข้าใจหรือจดจำเนื้อหานั้น ๆ ได้เช่น การให้ผู้เรียนจับคู่ เติมคำ ปรนัยแสดงส่วนประกอบ ถูกผิด และการตอบคำถามสั้นๆเป็นต้น รูปแบบของการนำเสนอข้อมูลอาจอยู่ในรูปแบบของข้อความหรือการใช้สื่อต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น

3. ประเภทจำลอง
ผังงานคือ ชุดของสัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งอธิบายขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม การเขียนผังงานเป็นสิ่งสำคัญทั้งนี้ก็เพราะคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ดี จะต้องมีปฏิสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ และสามารถถูกถ่ายทอดออกมาได้ อย่างชัดเจนที่สุดในรูปของสัญลักษณ์ การเขียนผังงานจะนำเสนอลำดับขั้นตอน โครงสร้างของบทเรียน ผังงานทำหน้าที่เสนอข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรม เช่น อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนตอบคำถามผิด เป็นต้น

4. ประเภทเกม
รูปแบบหนึ่งของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ต้องการให้การเรียนเป็นเรื่องสนุกสนานตามแนวคิดในภาษาอังกฤษที่ว่า Learning is fun. โดยสร้างบรรยากาศให้สนุกสนานเพลิดเพลิน จูงใจผู้เรียนให้อยากเรียน

5. แบบทดสอบ
เป็นการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการสร้างแบบทดสอบ การตรวจให้คะแนนการคำนวณผลสอบและการจัดการการสอบบนคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ

5.1 การสร้างการตรวจและการคำนวณผลสอบ คล้ายกับลักษณะของประเภทแบบฝึกหัด ต่างกันที่มีข้อคำถามมากและมีความซับซ้อนมากกว่าประเภทแบบฝึกหัด

5.2 การจัดการสอบ เป็นการออกแบบระบบที่ทำให้เกิดความยืดหยุ่นและสะดวกในการใช้




หน่วยที่ 2 จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสื่อการเรียนการสอน........

เป็นการศึกษาธรรมชาติการเรียนรู้ และองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ การเรียนการสอนซึ่งจะเป็นเรื่องราวทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา อันได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีแรงจูงใจ และทฤษฎีพัฒนาการ ลักษณะธรรมชาติผู้เรียน สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเรียนรู้ตลอดจนวิธีการนำความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นไปประยุกต์ใช้ การรับรู้ เป็นเหตการณ์ความรู้สึกที่เป็นผลจากกิจกรรมของเซลล์ประสาทสมอง เป็นลักษณะหนึ่งของจิต ไม่ใช่จิตทั้งหมด จัดเป็นประเภทอสสาร สามารถ Observe หรือ Experienceได้ด้วยวิธีพินิจภายใน(Introspection)
การรับรู้ หมายถึง การรู้สึกสัมผัสที่ได้รับการตีความให้เกิดความหมายแล้ว เช่นในขณะนี้ เราอยู่ในภาวะการรู้สึก(Conscious) คือลืมตาตื่นอยู่ ในทันใดนั้น เรารู้สึกได้ยินเสียงดังปังมาแต่ไกล(การรู้สึกสัมผัส-Sensation) แต่เราไม่รู้ความหมายคือไม่รู้ว่าเป็นเสียงอะไร เราจึงยังไม่เกิดการรับรู้ แต่ครู่ต่อมามีคนบอกว่าเป็นเสียงระเบิดของยางรถยนต์ เราจึงเกิดการรู้ความหมายของการรู้สึกสัมผัสนั้น ดังนี้เรียกว่าเราเกิดการรับรู้การรับรู้เป็นเหตุการณ์ทางจิต เกิดจากกิจกรรมของกลุ่มนิวโรน มันจึงต้องเกิดขึ้นในสมอง เพราะนิวโรนเป็นเซลล์ประสาทที่รวมตัวกันเป็นก้อนสมอง ในเมื่อมันอยู่ในสมอง เราจึงดูด้วยตาไม่เห็น แลแม้ว่าเราจะเปิดกระโหลกเข้าไปดูสมองได้ แต่เราก็จะไม่เห็น ความรู้สึกได้ยินเสียง นั้นเลย เพราะมันเป็นอสสาร ไม่มีทางที่เราจะมองเห็นการรู้สึกเจ็บ การรู้สึกรัก ฯลฯ วิ่งไปมาอยู่ในสมองได้เลย ดังนั้น เราต้อง เดา เอาเอง การเดาเอาเองนี้เรียกให้ไพเราะขึ้นก็ว่า เราสันนิษฐาน และผลของการสันนิษฐาน เราเรียกว่าภาวสันนิษฐาน หรือ Construct ที่ได้กล่าวให้ท่านหูอื้อเล่นมาแล้วในเรื่อง Concept นั่นก็คือ การรู้สึกสัมผัสก็ดี การรับรู้ก็ดี เป็น Construct

หน่วยที่ 3
การสื่อสาร........

การสื่อสาร คือ
กระบวนการสำหรับแลกเปลี่ยนสาร รูปแบบอย่างง่ายของสาร คือ จะต้องส่งจากผู้ส่งสารหรืออุปกรณ์เข้ารหัส ไปยังผู้รับสารหรืออุปกรณ์ถอดรหัส
ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อสาร ระบบสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบพื้นฐาน คือ ผู้ส่งสาร (Sender) คือ แหล่งข้อมูลเริ่มต้น ข้อมูลข่าวสาร ได้แก่ บุคคล สื่อมวลชน สาร หรือข้อมูล (Message) คือ เรื่องราวที่ต้องการให้ผู้อื่นได้รับรู้ มีความหมาย และ สาระสำคัญเพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่ง ที่ผู้ส่งต้องการสื่อไปยังผู้รับสาร อาจอยู่ในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ข้อความ ท่าทาง การแสดงสีหน้า คำพูด น้ำเสียง การสัมผัส เป็นต้น ตัวกลาง (Channel) คือ ช่องทางที่ทำหน้าที่นำพาข้อมูลข่าวสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร ซึ่งอาจอยู่ในรูป ของประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การได้ยิน การได้เห็น การสัมผัส การดมกลิ่นและรส จากสื่อต่างๆ ที่ใช้ใน การสื่อสาร ผู้รับสาร (Receiver) หน่วยสุดท้ายของการสื่อสาร เพราะส่วนนี้ต้องเป็นผู้ที่รับรู้สิ่งต่างๆ จากผู้ส่งสาร และเป็นสิ่งที่ใช้วัดว่าการสื่อสารครั้งนั้นๆ เป็นไปได้ด้วยดีหรือไม่ เพราะถ้าผู้รับสารไม่มีความ เข้าใจในเรื่องที่กำลังสื่อสารกัน จะไม่เรียกว่าการสื่อสาร









ความหมายของสื่อการสอน นักวิชาการในวงการเทคโนโลยีทางการศึกษา โสตทัศนศึกษา และวงการการศึกษา ได้ให้คำจำกัดความของ “สื่อการสอน” ไว้อย่างหลากหลาย เช่น ชอร์ส กล่าวว่า เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน เช่น หนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพ แผนที่ ของจริง และทรัพยากรจากแหล่งชุมชน บราวน์ และคณะ กล่าวว่า จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดี ทั้งนี้รวมถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่ การแสดง บทบาทนาฏการ การสาธิต การทดลอง ตลอดจนการสัมภาษณ์และการสำรวจ เป็นต้น gปรื่อง กุมุท กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้ได้เป็นอย่างดี ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ให้ความหมาย สื่อการสอนว่า วัสดุอุปกรณ์และวิธีการประกอบการสอนเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายที่ผู้สอนประสงค์จะส่ง หรือถ่ายทอดไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ ยังมีคำอื่น ๆ ที่มีความหมายใกล้เคียงกับสื่อการสอน เป็นต้นว่ สื่อการเรียน หมายถึง เครื่องมือ ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ ที่จะมาสนับสนุนการเรียนการสอน เร้าความสนใจผู้เรียนรู้ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจดีขึ้น อย่างรวดเร็ว สื่อการศึกษา คือ ระบบการนำวัสดุ และวิธีการมาเป็นตัวกลางในการให้การศึกษาความรู้แก่ผู้เรียนโดยทั่วไปโสตทัศนูปกรณ์ หมายถึง วัสดุทั้งหลายที่นำมาใช้ในห้องเรียน หรือนำมาประกอบการสอนใด ๆ ก็ตาม เพื่อช่วยให้การเขียน การพูด การอภิปรายนั้นเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น




หน่วยที่ 4
การออกแบบสื่อการเรียนการสอน........

การออกแบบสื่อ องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอนคือสิ่งที่ครูมักนำไปประกอบการเรียนการสอนนั่นก็คือ สื่อการสอนนั่นเอง สื่อการสอนนับว่ามีประโยชน์มากเพราะสื่อการสอนเปรียบเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาและได้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นมากกว่าที่ครูผู้สอนจะสอนโดยการมาบรรยายหรือสอนตามเนื้อหา โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยสอนเลย

สื่อการสอน คือ การนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการนำวัสดุ เครื่องมือและวิธีการมาประกอบในการถ่ายทอดความรู้และเนื้อหาไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ในสิ่งที่ครูได้ถ่ายทอด รวมไปถึงมีความเข้าใจตรงตามเนื้อหา นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น และช่วยประหยัดเวลา หลักในการใช้สื่อ ในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนแต่ละครั้งครูควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของสื่อการสอนแต่ละชนิด ดังนี้

1. ความเหมาะสม สื่อที่จะใช้นั้นเหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการสอนหรือไม่


2. ความถูกต้อง สื่อที่จะใช้ช่วยให้นักเรียนได้ข้อสรุปที่ถูกต้องหรือไม่

3. ความเข้าใจ สื่อที่จะใช้นั้นควรช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและให้ข้อมูลที่ถุกต้องแก่นักเรียน

4. ประสบการณ์ที่ได้รับ สื่อที่ใช้นั้นช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่นักเรียน

5. เหมาะสมกับวัย ระดับความยากง่ายของเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อชนิดนั้น ๆ เหมาะสมกับระดับความสามารถ ความสนใจ

6. เที่ยงตรงในเนื้อหา สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่ถูกต้องหรือไม่

7. ใช้การได้ดี สื่อที่นำมาใช้ควรทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ได้ดี

8. คุ้มค่ากับราคา ผลที่ได้จะคุ้มค่ากับเวลา เงิน และการจัดเตรียมสื่อนั้นหรือไม่

9. ตรงกับความต้องการ สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนร่วมกิจกรรมตามที่ครูต้องการหรือไม่

10. ช่วยเวลาความสนใจ สื่อนั้นช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในช่วงเวลานานพอสมควรหรือไม่

สื่อในการเรียนการสอน






หน่วยที่ 5 การผลิตสื่อกราฟิก........

.." กราฟิก " (Graphic) เป็นคำมาจากภาษากรีกว่า Graphikos หมายถึงการเขียนภาพด้วยสีและเขียนภาพขาวดำและคำว่า " Graphein " มีความหมายทั้งการเขียนด้วยตัวหนังสือและการสื่อความหมายโดยการใช้เส้น ....เมื่อรวมทั้งคำ Graphikos และ Graphein เข้าด้วยกัน..วัสดุกราฟิกหมายถึงวัสดุใด ๆ ซึ่งแสดงความจริง แสดงความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด ภาพเขียน และอักษรข้อความรวมกัน....ในหนังสือ Audiovisual Materials ซึ่งเขียนโดย Wittich & Schuller ได้แบ่งประเภทวัสดุกราฟิกไว้ดังนี้
1. แผนสถิติ (Graphs) แบ่งออกเป็น...

1.1 แผนสถิติแบบเส้น (Line Graphs)...

1.2 แผนสถิติแบบแท่ง (Bar Graphs)...

1.3 แผนสถิติแบบวงกลม (Circle or Pie Graphs)...

1.4 แผนสถิติแบบรูปภาพ (Pictorial Graphs)...

1.5 แผนสถิติแบบพื้นที่ (Area and Solid Figure Graphs)

2. แผนภาพ (Diagrams)

3. แผนภูมิ (Charts)...
3.1 แผนภูมิแบบต้นไม้ (Tree Charts)...

3.2 แผนภูมิแบบสายน้ำ (Stream Charts)...

3.3 แผนภูมิแบบองค์การ (Organization Charts)...

3.4 แผนภูมิแบบต่อเนื่อง (Flow Charts)...

3.5 แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ (Comparision Charts)...

3.6 แผนภูมิแบบตาราง (Tabular Charts)...

3.7 แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ (Experience Charts)...

3.8 แผนภูมิแบบอธิบายภาพ (Achivement Charts)

4. ภาพโฆษณา (Posters)

5. การ์ตูน (Cartoon)

6. ภาพวาด (Drawing)

7. ภาพถ่าย (Photography)





ภาพวาดสีน้ำ สีไม้

หน่วยที่ 6
การสร้างสื่อราคาเยา........

ความหมายและคุณค่าและประโยชน์ของสื่อราคาเยาสื่อราคาเยานอกจากจะ หมายถึง สื่อที่มีราคาถูกแล้วยังหมายถึงสื่อต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติไม่ต้องซื้อหาด้วยราคาแพง สิ่งที่ครูคิดประดิษฐ์ขึ้นด้วยวัสดุราคาถูก หรือหาได้ง่าย รวมถึงสื่อสิ่งของได้เปล่าจากการแจกจ่ายเผยแพร่ของหน่วยงาน

1. สิ่งที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่นสิ่งธรรมชาติสามารถนำใช้ประกอบการเรียนการสอนในรูปของ ของจริง ใช้ได้โดยไม่ต้องดัดแปลงปรุงแต่ง เช่น ดิน หิน ทราย ต้นไม้ ใบไม้ แม่น้ำ ผลไม้ สนามหญ้า แม่น้ำ ป้ายจราจร ฯลฯ ซึ่งจำแนกประเภทได้เป็น
1.1 พืช ใช้เป็นสื่อการสอนได้มากมายทั้งในการสอนที่เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับพืชโดยตรง หรือใช้ส่วนของพืช หรือสร้างความเข้าใจในการสอนเรื่องอื่น เป็นของจริงที่หาง่ายที่สุด แต่มักจะถูกมองข้าม ตัวอย่างที่พบเห็นได้ เช่น ครูต้องสอนให้นักเรียนทราบ และเข้าใจถึงรูปร่าง ลักษณะ หน้าที่ส่วนประกอบต่าง ๆ ของต้นไม้ อันได้แก่ ราก ลำต้น กิ่ง ใบ ดอก ผล แทนที่ครูจะให้นักเรียนได้ศึกษาจากต้นไม้จริง ๆ ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในโรงเรียน ครูกลับใช้วิธีเขียนรูปต้นไม้บนกระดานชอล์ค เพื่อใช้อธิบายส่วนประกอบ ในขณะที่บริเวณโรงเรียน หรือแม้แต่ข้างห้องเรียนที่กำลังสอนอยู่ มีต้นไม้เป็นจำนวนมาก ที่เปิดโอกาสให้ครู นำเด็กออกไปสัมผัสกับต้นไม้จริง ซึ่งจะทำให้บรรยากาศ ของการเรียนดีกว่าการนั่งในห้อง ส่วนของพืชที่จะใช้ประกอบการสอนได้นั้นน่าจะใช้ได้ทุกส่วน นับตั้งแต่ รากแบบต่าง ๆ ลำต้น กิ่ง ก้าน ใบ ดอก ผล เมล็ด เส้นใย ขึ้นอยู่กับครูผู้สอนจะพิจารณาเลือกให้เหมาะสม
1.2 สัตว์ อาจเป็นส่วนของสัตว์ เช่น เปลือกหอย ปะการัง หนังสัตว์ เขาสัตว์ งา ขน เกล็ด หรือ แม้แต่สัตว์ทั้งตัวที่หาง่ายและไม่เป็นอันตราย ไก่ ปลา ปู กบ นก ก็สามาถนำมาใช้เป็นของจริงประกอบการสอนได้ทั้งสิ้น
1.3 แร่ธาตุ เช่น หิน ดิน ทราย สินแร่ ในธรรมชาติ โดยเฉพาะดิน หิน มักจะมีอยู่ทั่วไป ครูอาจนำเข้ามาในห้องเรียนหรือนำนักเรียนออกไปศึกษาก็ได้
1.4 ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ เช่น แสงแดด กระแสลม กระแสน้ำ ฝนเมฆหมอก

2. สื่อราคาเยาที่ครูคิดประดิษฐ์ขึ้นวัสดุจากธรรมชาติที่หาได้ง่าย วัสดุเหลือใช้ เศษวัสดุ หรือวัสดุราคาถูก เช่น ขวดเปล่า กระป๋อง เศษผ้า ถุงเท้า หลอดไฟฟ้า หลอดกาแฟ กระดาษหนังสือพิมพ์ วัสดุจากต้นไม้ สิ่งเหล่านี้ครูสามารถนำมาปรุงแต่ง ดัดแปลง ให้เป็นสื่อการเรียนการสอนที่มีคุณค่าได้ โดยอาศัยทักษะงานฝีมือ เพียงเล็กน้อยสื่อการเรียนการสอนที่ประดิษฐ์มาจากวัสดุราคาเยาจะมีคุณภาพหรือมีคุณค่าต่อการเรียนการสอนมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับตัวครูผู้ผลิตและผู้ใช้เป็นสำคัญว่าจะมีคุณสมบัติ มีความสามารถดีเพียงใด

แนวปฏิบัติในการผลิตและจัดหาสื่อจากท้องถิ่น
1. มีการศึกษาสำรวจสภาพท้องถิ่นล่วงหน้า เพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแหล่งวัสดุต่าง ในเรื่องชนิด จำนวน วิธีการได้มา
2. เปิดโอกาสนักเรียนตลอดจนถึงผู้ปกครองนักเรียน มีส่วนในการนำวัสดุอุปกรณ์จากท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
3. พิจารณาประเมินคุณค่า ของสื่อวัสดุที่นำมาใช้ เปรียบเทียบกับการใช้สื่อในลักษณะอื่น เพื่อหาทางเลือกที่เหมาะสมในการใช้สื่อประกอบการสอนเนื้อหานั้น ๆ ในครั้งต่อไป
4. พิจารณาให้เหมาะสม ในเรื่องการนำสื่อ จากท้องถิ่นเข้ามาใช้ห้องเรียนกับการนำนักเรียนออกไปศึกษานอกห้องเรียนว่าจะคุ้มค่า เสี่ยงอันตรายหรือไม่








ดอกไม้ทำด้วยมือใช้วัสดุจากธรรมชาติ

หน่วยที่ 7 การผลิตสื่อการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์........

การผลิสื่อการสอนด้วยคอมพิวเตอร์การผลิตสื่อการสอน e-learningเป็นที่ทราบกันดีว่า ปัจจุบันมีการพูดถึงการพัฒนาระบบ e-learning ในสถาบันการศึกษาเป็นอย่างมาก รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนกับการพัฒนาระบบ e-learning เป็นอย่างมาก และได้มีการพัฒนาในส่วนต่างๆ อย่างรวดเร็วตามการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ท ตัวอย่างที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมก็คือการถือกำเนิดของ มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (Thailand cyber university) และการพัฒนาศูนย์กลาง e-learning ของโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ

อย่างไรก็ตาม เราจะเห็นได้ว่าสถานการณ์ของ e-learning ในเมืองไทยนั้นยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจน มีความเหลื่อมล้ำเป็นอย่างมากระหว่างสถาบันที่มีทรัพยากรและบุคลากรที่พร้อม นอกจากนี้ การพัฒนาบทเรียน e-learning ยังจำกัดอยู่แค่การสร้างบทเรียนง่ายๆ ไม่มีความน่าดึงดูดใจสำหรับผู้เรียน บทเรียน e-learning ที่ดี น่าสนใจมีลูกเล่นต่างๆ ที่ทำให้ผู้เรียนสนุกและได้ความรู้ไปด้วยนั้น มีน้อยมาก และมีอยู่อย่างกระจัดกระจาย เพราะมักจะได้รับการพัฒนามาจากครู อาจารย์แต่ละท่านที่ต้องการทำของตัวท่านเอง โดยไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันแต่อย่างใด

สิ่งที่รัฐบาลพัฒนาได้อย่างง่าย และรวดเร็วที่สุดคือการลงทุนทางด้านอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งรัฐบาลประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง กล่าวคือจำนวนคอมพิวเตอร์ในสถาบันการศึกษามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือความพร้อมของบุคลากรที่จะใช้คอมพิวเตอร์เหล่านั้น โดยปกติ ครู อาจารย์ มักจะถูกคาดหวังให้เป็นผู้ผลิตสื่อการสอน e-learning ด้วยตัวท่านเอง ความพร้อมของครู อาจารย์ในการพัฒนาสื่อการสอน e-learning จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง และเป็นที่มาของการศึกษาวิจัยนี้ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ และ Umea University, Sweden

การศึกษาวิจัยนี้ ต้องการศึกษาความพร้อมของครู อาจารย์ในการพัฒนาสื่อการสอน e-learning โดยวัดทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์ของครู อาจารย์ว่ามีความพร้อมในด้านใด และด้านใดที่ครู อาจารย์ยังขาดทักษะ ซึ่งจะได้ใช้เป็นข้อมูลให้กับรัฐบาลในการอบรมครู อาจารย์ในโอกาสต่อไป















หน่วยที่ 8 การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์........

การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
การสร้างสรรค์งานสิ่งพิมพ์ ในรูปแบบต่างๆ ต้องทำความรู้จักกับรายละเอียดเบื้องต้นที่จำเป็นก่อน โดยการบวนการผลิตงานสิ่งพิมพ์จะประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ เช่น การจัดเตรียมไฟล์งาน การจัดการกับรูปภาพ การเลือกกระดาษ การออกแบบรูปลักษณ์ หรือรูปเล่ม การจัดหน้า เพื่อให้ใด้ผลงานตามรูปแบบที่ต้องการ

ระบบการพิมพ์
ในโลกนี้มีอยู่หลายอย่างค่ะ แต่ที่จะแนะนำนี่เป็นระบบที่นิยมใช้ในบ้านเรา
1. ระบบออฟเซ็ตระบบออฟเซ็ต เป็นระบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด สมุดหนังสือ ใบปลิว โปสเตอร์ ใบเสร็จ ล้วนแต่พิมพ์ด้วยระบบนี้ทั้งนั้น เพราะพิมพ์ได้สวยงาม พิมพ์ภาพได้ดี พิมพ์สี่สีก็สวย เหมาะสำหรับงานที่ยอดพิมพ์สูงๆ ควรจะหลายพันหรือเป็นหมื่นขึ้นไปจึงจะคุ้ม เพราะแม่พิมพ์มีราคาแพง พิมพ์สิบใบก็ได้ แต่ราคาต่อใบจะสูงมาก
2. ระบบซิลค์สกรีนการพิมพ์ซิลค์สกรีนพิมพ์ภาพได้ไม้ค่อนดี เหมาะกับงานลายเส้น งานที่มียอดพิมพ์น้อย งานพิมพ์บนวัสดุที่พิมพ์ยาก เช่น สติกเกอร์ ไม้ แก้ว หนัง ผ้าและแผ่นซีดีอะไรพวกนี้แหละค่ะ อ้อ ... นิยมใช้พิมพ์นามบัตรด้วยคะ เพราะนามบัตรยอดพิมพ์น้อย
3. การพิมพ์โรเนียวแบบดิจิตอลตอนเป็นนักเรียนเคยสังเกตข้อสอบไหมคะ ใช้กระดาษเนื้อฟูๆ พิมพ์แต่ตัวหนังสือ หรือถ้าเป็นภาพก็เป็นภาพลายเส้น แล้วก็ไม่ค่อยคมชัด แค่พอดูออก พวกนั้นเกิดจากการพิมพ์โรเนียวค่ะ แต่ถึงวันนี้โรเนียวแบบโบราณเริ่มจะหายไปแล้วค่ะ มีคนคิดเครื่องใหม่ๆขึ้นมา คล้ายๆเครื่องถ่ายเอกสาร แต่ใช้หลักการเหมือนการโรเนียว
คงไม่อะธิบายให้งงหรอกค่ะ เอาเป็นว่าผลงานของเจ้าเครื่องสมัยใหม่นี่ ช่วยให้พิมพ์ภาพได้ดีขึ้น ความคมชัดดีขึ้น แม้จะสู้ระบบออฟเซ็ตไม่ได้ แต่ข้อดีคือ ต้นทุนตํ่า พิมพ์ไม่กี่สิบใบก็พิมพ์ได้ ไปจนถึงร้อย หรือพันใบก็ยังไหว เหมาะกับพวกใบปลิว การ์ดเชิญง่าย ฎีกาผ้าป่าอะไรเทือกนี้แหละค่ะ ลูกค้าของเราบางคนใช้พิมพ์สัญญากู้เงินก็ยังมีเลยค่ะ












1. การปั้น (Casting) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุ ทีเหนียว อ่อนตัว และยึดจับตัว กันได้ดี วัสดุที่นิยมนำมาใช้ปั้น ได้แก่ ดินเหนียว ดินน้ำมัน ปูน แป้ง ขี้ผึ้ง กระดาษ หรือ ขี้เลื่อยผสมกาว เป็นต้น
2. การแกะสลัก (Carving) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุที่ แข็ง เปราะ โดยอาศัย เครื่องมือ วัสดุที่นิยมนำมาแกะ ได้แก่ ไม้ หิน กระจก แก้ว ปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น











3. การหล่อ (Molding) เป็นการสร้างรูปทราง 3 มิติ จากวัสดุที่หลอมตัวได้และกลับแข็ง ตัวได้ โดยอาศัยแม่พิมพ์ ซึ่งสามารถทำให้เกิดผลงานที่เหมือนกันทุกประการตั้งแต่ 2 ชิ้น ขึ้นไป วัสดุที่นิยมนำมาใช้หล่อ ได้แก่ โลหะ ปูน แป้ง แก้ว ขี้ผึ้ง ดิน เรซิ่น พลาสติก ฯลฯ รำมะนา (ชิต เหรียญประชา)
4. การประกอบขึ้นรูป (Construction) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ โดยนำวัสดุต่าง ๆ มา ประกอบเข้าด้วยกัน และยึดติดกันด้วยวัสดุต่าง ๆ การเลือกวิธีการสร้างสรรค์งานประติมากรรม ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ต้องการใช้ ประติมากรรม ไม่ว่าจะสร้างขึ้นโดยวิธีใด จะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ แบบนูนต่ำ แบบนูนสูง และแบบลอยตัว ผู้สร้างสรรค์งานประติมากรรม เรียกว่า ประติมากร

ประเภทของงานประติมากรรม
1.ประติมากรรมแบบนูนต่ำ ( Bas Relief ) เป็นรูปที่เป็นนูนขึ้นมาจากพื้นหรือมีพื้นหลัง รองรับ มองเห็นได้ชัดเจนเพียงด้านเดียว คือด้านหน้า มีความสูงจากพื้นไม่ถึงครึ่งหนึ่งของรูป จริง ได้แก่รูปนูนแบบเหรียญ รูปนูนที่ใช้ประดับตกแต่งภาชนะ หรือประดับตกแต่งอาคารทาง สถาปัตยกรรม โบสถ์ วิหารต่างๆ พระเครื่องบางชนิด


2.ประติมากรรมแบบนูนสูง ( High Relief ) เป็นรูปต่าง ๆ ในลักษณะเช่นเดียวกับแบบ นูนต่ำ แต่มีความสูงจากพื้นตั้งแต่ครึ่งหนึ่งของรูปจริงขึ้นไป ทำให้เห็นลวดลายที่ลึก ชัดเจน และ และเหมือนจริงมากกว่าแบบนูนต่ำและใช้งานแบบเดียวกับแบบนูนต่ำ


3.ประติมากรรมแบบลอยตัว ( Round Relief ) เป็นรูปต่าง ๆ ที่มองเห็นได้รอบด้านหรือ ตั้งแต่ 4 ด้านขึ้นไป ได้แก่ ภาชนะต่าง ๆ รูปเคารพต่าง ๆ พระพุทธรูป เทวรูป รูปตามคตินิยม รูปบุคคลสำคัญ รูปสัตว์ ฯลฯ



นิทานเรื่อง : กระดาษน้อยคอยฝัน

นิทานจากการประกวด รางวัลนิทานมูลนิธิเด็ก ครั้งที่ 8
เรื่อง : นฤดี วัฒนวงศ์
รูป : พิมพ์จิต สถิตวิทยานันท์
สำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก สำนักงานสงเสริมงานมูลนิธิเด็ก





ลมหนาวจ๋าเธอจะพาฉันไปไหน หยุดเสียทีเถอะนะ เธอพัดแรงเกินไปแล้ว" กระดาษแผ่นน้อยครวญ
ก่อนหน้านี้ กระดาษน้อยเป็นส่วนหนึ่งขอสมุดเก่าในห้องเก็บของ แต่ระยะเวลาทำให้มันหลุดออกมา และล่องลอยไปในอากาศด้วยแรงลม แล้วกระดาษน้อยก็มาตกอยู่กลางป่าใหญ่ อันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้นไม้และสัตว์ป่ามากมาย หนึ่งในนั้นคือลุงต้นไม้ใหญ่ใจดีผู้แผ่กิ่งก้านให้ความร่มเย็นอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
"สวัสดีครับ ลุงต้นไม้ใหญ่" กระดาษน้อยทักทายเสียงใส
"สวัสดี หลานชายมาจากไหนล่ะ" ลุงต้นไม้ใหญ่ถามกล






"ผมไม่ทราบครับ รู้แต่ว่ามาไกลเหลือเกิน ผมมากับสายลมหนาวครับ"
แววตาของกระดาษน้อยที่อยากรู้อยากเห็น โดยไม่มีวี่แววความเหน็ดเหนื่อย ชวนให้ลุงต้นไม้ใหญ่สงสัย
"แปลกจริง พลัดจากบ้านมา แต่ดูเจ้าร่าเริงจังนะ"
"ผมฝันจะได้เผชิญดลกภายนอกมานานแล้วล่ะครับ เพราะผมน่ะเคยอยู่ในสมุดเก่า ๆ ที่ถูกทิ้งไว้ในห้องเก็บของเจอแต่ขี้ฝุ่น หยากไย่ มอด และปลวก" กระดาษน้อยเล่าถึงอดีตอันแสนเศร้า
"ผมไม่อยากให้ตัวผมว่างเปล่าหวังว่าสักวันจะมีคนเห็นคุณค่าของผม และเขียนตัวอักษรสวย ๆ บนตัวผมบ้าง" กระดาษน้อยบอกถึงความใฝ่ฝัน
"อยู่นอกบ้านเจ้าต้องระวังตัวให้มากโลกนี้น่ะมีอันตรายอยู่รอบตัว"
"ครับ ผมจะระมัดระวังตัวอย่างดี"
"ขอให้หลานชายโชคดีนะ"
"ขอบคุณมากครับ"




ทันใดนั้นสายลมหนาวก็เริ่มพัดอีกครั้ง คราวนี้มันพัดหมุนวนจนกระดาษน้อยเวียนหัวเลยทีเดียว และพากระดาษน้อยมาหยุดที่หน้าบ้านของเด็กหญิงจุ๊บผู้น่ารักขณะเล่นกับแมวเหมียวอยู่อย่างเพลิดเพลิน
"เอ๊ะ…กระดาษแผ่นนี้มาจากไหนนะ เก็บไว้ก่อนก็แล้วกัน เด็กหญิงจุ๊บพูดจบก็หยิบกระดาษน้อยเข้าไปเก็บในบ้าน อีกไม่กี่วันจะเป็นวันเกิดของเพื่อนสนิทคนหนึ่งชื่อกุ๊ก


เด็กหญิงจุ๊บคิดจะทำสมุดบันทึกลายผีเสื้อให้เป็นของขวัญเธอจึงนำกระดาษน้อยมารวมกับกระดาษอีกหลายแผ่น ทำเป็นรูปเล่มสวยงามจนกระดาษทั้งหมดดูมีค่าทีเดียว
กระดาษน้อยตื่นเต้นดีใจมากที่ได้กลายเป็นสมุดบันทึกแสนน่ารักและมีหน้าที่ของตนเองได้ในที่สุด เมื่อถึงวันเกิดของเด็กหญิงกุ๊ก สมุดบันทึกเล่มนี้เป็นของขวัญที่ถูกใจเธอยิ่งนัก เธอทั้งเขียนหนังสือและวาดรูปมากมายลงในนั้น ทำให้กระดาษน้อยรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า น่าภาคภูมิใจและไม่ว่างเปล่าอีกต่อไป